วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

タスク1(手際のよい説明)に対する気持ち、内省


สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายไปนาน วันนี้ จะมาเล่าความรู้สึกจากการทำกิจกรรมใน วิชา App Jap Ling กิจกรรมแรก TT

หัวข้อของกิจกรรม :  การเขียนอธิบายที่ละเอียด เข้าใจง่าย
โจทย์ : ให้เขียนอธิบายเส้นทางการเดินทางจากบีทีเอส สถานีสีลม ถึง ตึกบรมราชกุมารี คณะ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     ความรู้สึกแรกตอนที่รู้หัวข้อและโจทย์ คือ คิดว่าไม่ยากเท่าไหร่ เพราะ โจทย์คล้ายกับเนื้อหาที่เรียนในวิชา Conver สมัยอยู่ปี 2 อาจารย์เคยให้ฝึกจับคู่ ดูแผนที่และอธิบายเส้นทาง ซึ่งก็คล้ายกันกับโจทย์ในกิจกรรมนี้ ที่ให้อธิบายเส้นทางการเดินทาง

ลงมือเขียน :
      ใบ้กินไป สามวิ หลังจากกดไส้ดินสอ ตอนแรกคิดว่า คงเริ่มเขียนได้เลย แต่พอจะเขียนจริงๆก็นึกไม่ออกว่าจะเริ่มเขียนยังไงดี เขียนไปหนึ่งประโยคแล้วลบแล้วลบอีก แล้วก็ต้องตั้งสติคิดใหม่อีกครั้ง พอเขียนแล้วก็รู้สึกเลยว่า ยากกว่าการพูดอธิบายโดยมีคู่สนทนา เพราะถ้ามีคู่สนทนา เราก็จะดูปฏิกิริยาได้ว่า ผู้ฟังเข้าใจหรือไม่ แต่ในกิจกรรมนี้ เป็นการเขียนอธิบายอยู่ฝ่ายเดียว ต้องจินตนาการว่า ถ้าเขียนแบบนี้ แบบนี้ คนอ่านจะเข้าใจหรือไม่ และก็คิดว่า เขียนออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร รู้สึกว่าอ่านแล้วไม่สละสลวย ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. ติดสำนวน てください แทบจะจบทุกประโยคที่เป็นคำชี้แจงให้ผู้อ่านทำตาม ด้วยสำนวนดังกล่าว เพราะคิดว่า ถ้าบอกให้ผู้อ่าน ทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ โดยปกติแล้วก็จะใช้สำนวนดังกล่าว และอาจจะเป็นเพราะติดสำนวนนี้มาจากการอธิบายเส้นทางเวลาสนทนาด้วย
2. ไม่ค่อยมี คำศัพท์ที่บอกลำดับขั้นตอน จะใช้วนไปวนมาอยู่ เพียง それからกับ Vたら、Vてください3. นึกคำศัพท์ที่ต้องการไม่ออกและ บางจุดก็เขียนอธิบายไม่ถูก

หลังจาก ดูตัวอย่างการเขียนโดยเจ้าของภาษา :
       ตกใจในความห่างชั้นกัน ระหว่างผลงานตนเองกับผลงานของเจ้าของภาษา และพบสไตล์การเขียนที่น่าสนใจหลายประการ
1. ได้วิธีการจบประโยคที่เป็นคำชี้แจงให้ผู้อ่านทำตาม เพิ่มขึ้น ได้แก่ วิธีที่หนึ่ง จบประโยคด้วยรูปます วิธีที่สอง จบประโยคด้วยคำนาม เช่น サイアム駅で下車。ซึ่งหากนำมาใช้จะทำให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
2. ผลงานของเจ้าของภาษาบางผลงานมีสไตล์ที่น่าสนใจ เช่น มีคำแนะนำ (注意してほしいのは…)
และอาจจะด้วยความสามารถทางภาษา เลยมีการอธิบายที่ละเอียดกว่ามาก เช่น บอกชื่อสถานีที่รถไฟจะผ่านก่อนถึงสถานีเป้าหมาย ในส่วนที่เห็นว่าน่าสนใจที่สุดคือ การใส่ความคิดเห็น ซึ่งเหมือนกับผู้เขียนแสดงความรู้สึกต่อผู้อ่าน เช่น お疲れ様でした。หรือ もうすこし頑張ってね。ตอนแรกคิดว่าใส่ไม่ได้เพราะเป็นงานเขียน ซึ่งจุดนี้ก็ทำให้ได้สังเกตตัวเองว่า เวลาเขียนภาษาญี่ปุ่น จะรู้สึกว่า เขียนได้แข็งๆ ไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนเวลาเขียนภาษาไทย ไม่ค่อยใส่ความรู้สึกลงไป เพราะมัวแต่ไปเครียดว่าไวยากรณ์จะผิดไหม ทั้งที่งานเขียนนี้ไม่ใช่งานเขียนที่เป็นทางการ
3. ได้ตัวอย่างการใช้คำเพื่อบอกลำดับขั้นตอน คือ ใช้ まず 次に และได้สังเกตเห็นว่า เจ้าของภาษามีการแบ่งย่อหน้า ซึ่งทำให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เหมือนแบ่งว่า ย่อหน้าหนึ่งเป็นขั้นตอนการเดินทางโดยรถไฟ ย่อหน้าที่สอง เป็นขั้นตอนการเดินทางหลังจากลงรถไฟแล้ว
4. การจบประโยคด้วย のです。ในตอนสุดท้ายของการอธิบาย เช่น それは大学の門なのです。 (นั่นแหละ คือ ประตูของมหาวิทยาลัย)

หลังจากแก้งานครั้งที่ 1 :
     คิดว่าตนเองเขียนได้ดีขึ้น มีการแก้ปัญหาที่พบเมื่อลองเขียนครั้งแรก ได้ใช้ まず 次に มีการอธิบายรายละเอียดมากขึ้นโดยดูงานเขียนของเจ้าของภาษาเป็นแบบอย่าง  และได้ลองใช้วิธีการจบประโยคที่หลากหลายมากขึ้น มีการแบ่งย่อหน้าจากเดิมที่มีย่อหน้าเดียวเป็นสี่ย่อหน้า โดยรวมภูมิใจในงานที่แก้มาก และคิดว่าทำได้ดี

คำวิจารณ์จากเพื่อนและอาจารย์ :
       จากคำวิจารณ์ของเพื่อนและอาจารย์ ทำให้เห็นข้อผิดพลาดต่างๆ แม้จะเป็นงานเขียนที่คิดว่าเขียนดีแล้ว แต่ข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งไม่เคยรู้ตัวเลยคือ ตนเองมีปัญหาเรื่อง コロケーションในระดับประโยค กล่าวคือ เวลาเชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน มักจะเผลอลงท้ายประโยคสองด้วยไวยากรณ์ที่ไม่สอดคล้องกับประโยคหน้าเช่น チュラ大のバスは全体ピンクで、普通のバスと比べると小さく見られます。ทั้งที่ประโยคหน้า มีลักษณะเป็น ประโยค N+は+N/Adj. แต่ในประโยคหลังกลับจบประโยคด้วย 見られますซึ่งเป็นคำกริยา ว่า สามารถมอง สามารถดู ซึ่งประธานของกริยานี้ก็ไม่น่าจะเป็น チュラ大のバス ได้ด้วย ในส่วนนี้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่า อาจเป็นเพราะประโยคยาวเกินไป ทำให้สับสน แก้ปัญหาโดยการแบ่งประโยคให้สั้นลงจะง่ายที่สุด   เช่น แบ่งเป็น チュラ大のバスは全体ピンクです。普通のバスと比べると、小さいです。นอกจากประโยคนี้ยังมี ข้อผิดพลาดในลักษณะดังกล่าวอยู่อีก นอกจากนี้ก็มีข้อผิดพลาดเรื่องการเลือกใช้คำศัพท์บ้างประปราย

  โดยรวมจากกิจกรรมนี้ ก็คิดว่าตนเองยังต้องฝึกฝนอีกมากในเรื่องของการเขียนอธิบาย ตกใจอยู่เหมือนกัน เพราะคิดว่า เนื้อหาก็คล้ายกับสิ่งที่เคยเรียน เคยฝึกฝนมาก่อนแล้ว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าของภาษาก็ยังมีความแตกต่างกัน ทั้งความถูกต้อง ลูกเล่นในการเขียน แล้วก็ยังพบปัญหาใหญ่ในการใช้ภาษาญี่ปุ่นของตัวเองซึ่งไม่เคยพบมาก่อนด้วย  ซึ่งต้องพยายามแก้ไขต่อไป ถึงแม้จะเศร้าเล็กน้อยเพราะเรียนมาตั้งนาน เพิ่งรู้สึกตัว แต่ก็คิดว่าดีแล้วที่รู้ตัวเสียแต่ตอนนี้ดีกว่ารู้ตัวสายไปและใช้ผิดติดเป็นนิสัย จบการรายงานค่ะ ><
 
  

1 ความคิดเห็น:

  1. はじめまして、こんばんは。

    さて、1か月前に書いたブログのようですが、何を書いたか覚えていますか?
    バンコクに来た日本人のために道案内の文を書いたんですね。
    今まで知らなかったような表現にいろいろ出合っておもしろい発見もあったんですね。
    せっかく見つけた新しいことは使わないと忘れてしまうかもしれません!

    こうやってたくさんメモや反省を残しておくことも大切ですが、
    せっかくですから、ぜひ書き直してみてください。

    何度も使ううちに、なんでこんなこと言えなかったんだろうと思えるようになりますよ。

    ตอบลบ